วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระราชประวัติ


ทรงพระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตุลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น รัฐเมสสาชูเขตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

การศึกษา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์ ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติและทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าว ทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาใน แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมือง โลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาราชพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ

ครองราชย์

ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาลได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษาวิชาการปกครองแทนเช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องและมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและ ราชสังคหวัตถุทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ ทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุมโดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ลุงรวย”และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหิน เพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทางชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมากถนนสายห้วยมงคลนี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการใน พระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน

พระบรมราชาภิเษก

วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อทรงรักษา พระสุขภาพและเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน

ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้

1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515

3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520

4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลนี้ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตร อันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรมอันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญพระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตรสรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”







วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระราชอัจฉริยภาพ


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพหลายด้านได้แก่

ด้านการดนตรี
พระอัจฉริยภาพอีกประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ชาวไทยรู้จักกันดี คือ พระองค์ท่านโปรดการดนตรี เป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่งมีทำนองทั้งหมด 47 เพลง นอกจากจะมีความไพเราะแล้ว เพลงพระ ราชนิพนธ์เหล่านี้ยังแพร่หลายไปยังต่างประเทศ ให้ชาวต่างประเทศได้ประจักษ์และยอมรับในพระปรีชาสามารถของ พระองค์ท่านด้วย

ด้านการกีฬาและหัตกรรม
เมื่อปีพ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระฐานะเป็นนักกีฬาตัวแทนของประเทศไทยลงแข่งขันเรือใบ ซึ่ง เป็นกีฬาที่โปรดเป็นพิเศษในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง จากการแข่งขันครั้งนั้น นำมาซึ่งความปลื้มปิติแก่พสกนิกรไทยถ้วนหน้า(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมเรือไมโครมด MM2 )
ไม่เพียงแต่พระองค์จะโปรดการเล่นเรือใบเท่านั้น หากในยามที่ทรงเว้นว่างจากพระราชกรณียกิจ จะทรงใช้เวลาออก แบบและสร้างเรือใบด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เรือใบที่ทรงออกแบบมิได้ตามแบบอย่างของต่างประเทศ ทรงพระ ราชทานนามเรือใบลำนั้นว่า "เรือใบมด" (MOTH)



ด้านจิตรกรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฝึกฝนเขียนภาพด้วยพระองค์เอง รวมทั้งทรงศึกษาจากตำราต่าง ๆ เมื่อสนพระทัยงาน เขียนของศิลปินผู้ใด ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมศิลปินผู้นั้นถึงที่พัก เพื่อทอดพระเนตรวิธีการทำงานของศิลปิน ผู้นั้นเมื่อทรงเข้าพระทัยการทำงานของเขาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะทรงนำวิธีการเหล่านั้นมาทรงฝึกฝน และทรงสร้างสรรค์ งานของพระองค์ขึ้นมาใหม่ให้เป็นแบบฉบับของพระองค์เอง

ด้านประติมากรรม


เป็นงานอีกด้านหนึ่งที่ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการ ทั้งการปั้น การหล่อและการทำแม่พิมพ์จากหนังสือและทรงลงมือ ปฏิบัติด้วยตนเอง



ด้านภาพถ่าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการถ่ายภาพมาตั้งแต่ครั้งพระชันษา 8 พรรษา สมเด็จพระราชชนนี ประทานกล้องถ่ายรูปของฝรั่งเศสแก่พระองค์ท่าน เมื่อครั้งโดยเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก ทรงถ่ายภาพประชาชนที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชอยู่ตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในการถ่ายรูปยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกล้องธรรมดาหรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ และทรงเชี่ยวชาญ ในการล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพทั้งขาว-ดำและภาพสี ทรงมีห้องมืดของพระองค์เองทรงสนพระทัยที่จะคิดค้นหา เทคนิคใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพอยู่เสมอ

ด้านเครื่องกล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยปัญหาเรื่องน้ำมาเป็นเวลานานเมื่อทรงทราบว่ากรุงเทพฯและแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนล่างได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเน่าเสียอยู่ในขั้นวิกฤตรุนแรงจึงทรงคิดค้นประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าว โดยพระราชทานให้กรมชลประทานและมูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการผลิตเครื่องเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้า แบบทุ่นลอยนี้มีชื่อว่า "กังหันชัยพัฒนา" สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็นซองตักน้ำรูปสี่ เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซอง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้าสำหรับขับเคลื่อนซองน้ำให้หมุนรอบเป็นวงกลม ทั้งนี้ ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายผสมผสานเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง




ความเป็นมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ"พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "
" มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximization of Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง
" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยาก ที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็น ตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืนการบริโภคที่ฉลาด

การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง” “ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”































































พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและชลประทาน

ด้านการส่งเสริมการเกษตรและชลประทาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับทางด้านการเกษตร และการชลประทาน เนื่องจากทรงเห็นว่าราษฎรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร และค่อนข้างอยู่ในฐานะยากจน พระองค์จึงทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรของชาติเป็นสำคัญ ราษฎรไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระเกียรติว่า “ กษัตริย์เกษตร ” นอกจากพระองค์จะทรงส่งเสริมการเกษตรโดยตรงแล้ว พระองค์ยังทรงฟื้นฟู และปรับปรุงพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เคยมีมาแต่โบราณกาลครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนไทยประมาณร้อย 80 เป็นเกษตรกร และส่วนมากก็เป็นชาวนาชาวไร่ หรือเป็นเกษตรกรที่ยากจน
ปัญหาด้านความเดือดร้อนของราษฎรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจในประเทศ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรกรรมในทุกแขนงอย่างจริงจัง มาใช้กับกิจกรรมด้านการเกษตรและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบวงจรทุกขั้นทุกตอน
ปัญหาของราษฎรในด้านการเกษตร

ประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างอุดมสมบูรณ์ เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีชื่อเสียงในด้านเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ดังคำว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าเมืองไทยนี้ เป็นเมืองอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมาแล้วในอดีต ปัจจุบันประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่เป็นเกษตรกรรมที่มีปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ นา ไร่ สวน สภาพที่ดินทำกิน การผลิตและด้านอื่นๆในการทำเกษตรเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงหาแนวต่างๆในการส่งเสริมพัฒนาการเกษตรไทยให้ดีขึ้นทุกวิถีทาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย ซึ่งเป็นคนยากจนและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้ดีขึ้น โดย ถ้าส่งเสริมการเกษตรให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาของชาติได้มากเกินครึ่งทีเดียว
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาของราษฎรจึงทรงเน้นในด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยทรงเริ่มศึกษาเรื่องพืชโดยการปลูกพืชบนดาดฟ้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน รวมทั้งในบริเวณสวนจิตรลดา ซึ่งปัจจุบันก็ยังทรงศึกษาอยู่โดยเฉพาะเรื่องข้าว พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ได้ทรงศึกษานอกพระราชฐานเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน การจัดสรรที่ดินให้ราษฎรทำกิน ทรงมีพระบรมราโชบายให้ปลูกข้าวเป็นหลัก เนื่องจากข้าวนั้นเป็นอาหารหลักของคนไทย ส่วนพืชไร่พืชสวนอื่นๆนั้น เกษตรกรสามารถปลูกเอาตามความสามารถของแต่ละคน เพระถ้าส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นแล้ว เกษตรกรก็ยังคงต้องซื้อข้าวมาบริโภคก็จะทำให้ถูกเอาเปรียบได้ ยังทรงมีพระราชดำริส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ สุกร ควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้มีอาหารประเภทโปรตีนไว้บริโภค พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรเหล่านั้นให้สามารถพึ่งตนเอง และมีฐานะเป็นมั่นคง ถ้าทำได้สำเร็จและแผ่ขยายไปทั่วประเทศแล้ว ก็จะทำให้ประเทศไทย มีความมั่นคงโดยส่วนรวมด้วย


วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์



ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที และยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่าในการแพทย์เคลื่อนที่
สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมวัดทุกแห่ง ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท โดยจะพระราชทานกล่องยาแก่วัด เพื่อพระภิกษุใช้เมื่อเกิดอาพาธ และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจ ก็จะพระราชทานสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรคสำหรับใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ และใช้ในการรักษาพยาบาล และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในท้องที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย



พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา




















พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
จากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ คือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่างๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต
โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่กับราษฎรเจ้าของท้องที่ด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา



วันฉัตรมงคล




วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก


ประวัติความเป็นมา ของการจัดพิธีบรมราชาภิเษกการจัดพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพิธีที่จัดต้อนรับหรือรับรองฐานะความเป็นประมุขของสังคม อย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งมีมาแต่ครั้งพ่อขุนผาเมือง ได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัย ดังปรากฏในหลักฐานในศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไท
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาติทุกสาขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูพระราชพิธีบรมราชาภิเษกให้ถูกต้องสมบูรณ์
พระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะไม่ใช้คำว่า "พระบาท" นำหน้า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" และคำสั่งของพระองค์ก็ไม่เรียกว่า "พระบรมราชโองการ" และที่สำคัญประการหนึ่งคือ จะยังไม่มีการใช้ นพปฎลเศวตฉัตร หรือฉัตร 9 ชั้น
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณ ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เป็นวันจุดเทียนชัย และวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในงานพระราชพิธีฉันมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบขวบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
ในงานพระราชพิธีฉันมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบขวบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี


กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน